วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

何故沢山食べると太ってくるのかな・・・

      สวัสดีอะเกนค่าา วันนี้อรพิมมีเกมมาให้เล่นกันค่ะ

      อรพิมเชื่อว่าเพื่อนๆ ทุกคนมีคลังคำศัพท์คันจิอยู่ในหัวมากมายก่ายกองมากกว่าอรพิมอีกค่ะ แต่อรพิมอยากเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของคันจิมาฝากกันเพิ่มเติมนะคะ
      แต่ก่อนอื่น มาเล่นเกมกันดีกว่า อิอิๆๆๆ

เพื่อนๆ ลองตอบคำถามต่อไปนี้ดูนะคะ เลือกคะอ่านทีถูกต้องของคันจิที่ขีดเส้นใต้
ไม่เยอะค่ะ 6 ข้อขำๆ ห้ามเลื่อนลงไปดูเฉลยก่อนล่ะ 555

① いったい何故そんなことが起こったのでしょう?
 ア.なぜ    イ.どこ    ウ.なんで

② 山田先生は何処に行きましたか?
 ア.なぜ    イ.どこ    ウ.なんで

③ 野菜の種類はずいぶん沢山あります。
 ア.ぜひ    イ.たくさん  ウ.ぜったい

④ 授業中の携帯は勿論だめ!
 ア.もちろん   イ.ぜひ   ウ.ぜったい

⑤ 心配してくれる家族がいるってのは、有難い事です。
 ア.すばらしい  イ.うれしい  ウ.ありがたい

⑥ 来週、是非パーティに来てくださいね!
 ア.ぜひ    イ.ぜったい  ウ.もちろん

      เป็นไงบ้างคะ ชิวๆ ใช่ม้าา (คือทำไปทำมามันเดาง่ายมากเลย คิดซะว่าขำๆ นะคะ 555)
      ทีนี้มาดูเฉลยกันค่ะว่าเพื่อนๆ ตอบถูกแค่ไหน
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.

เฉลยยยยยย

(なぜ)

(どこ)

(たくさん)

(もちろん)

(ありがたい)

(ぜひ)

      คันจิทั้ง 6 คำนี้ เพื่อนๆ จะสังเกตว่าโดยปกติแล้ว เขาจะไม่เขียนด้วยคันจิใช่ไหมคะ แต่คำ 6 คำนี้ อรพิมเคยอ่านเจอในหนังสือนิยายมาแล้ว อย่างน้อยก็มากกว่าคำละ 2 ครั้งค่ะ ที่อรพิมจะบอกคือ คำศัพท์พวกนี้เราสามารถเจอะเจอกับมันได้ทุกเมื่อ แล้วเนื่องจากมันเป็นอะไรที่เราไม่เคยชิน มันจะทำให้เราเฟลและชะงักกันได้ง่ายๆ เลยค่ะ เพราะมนัเป็นคำที่เราเจ๊อเจอเจอเจอ อยู่ทุกวันแต่กลับไม่รู้ว่าความจริงแล้วมันก็มีคันจิให้เขียนกับเขาด้วย
      จำเอาไว้ ท่องให้มั่น อย่าให้คำเหล่านี้มาเป็นอุปสรรคขวางกั้นคุณให้อ่านนิยายไม่สนุกอีกต่อไป

      เร่งโพสต์มากกก ทิ้งตัวลงอ่อนและกราบแรงง

      อรพิม

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

「さ・し・す・せ・そ」の調味料 (ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง)

      สวัสดีค่ะเพื่อนๆ วันนี้อรพิมจะมานำเสนอคันจิที่ "ทุกคน" พบเจอกับมันได้ "ทุกเวลา" แต่ไม่ใช่ทุกสถานที่นะ เพราะวันนี้อรพิมจะพาทุกคนไปเดินเล่นในซุปเปอร์มาร์เก็ตแผนกเครื่องปรุงรสกันค่ะ

      ทำไมต้องแผนกนี้? นั่นสินะ ทำไมต้องแผนกนี้ล่ะ? เพราะที่นี่ทุกคนจะได้พบกับคันจิที่ทุกคนมองข้ามไปค่ะ (ไม่ใช่หรอก ความจริงอรพิมหิว ว่าจะหาของกลับไปทำกับข้าวกินที่บ้าน) คือถ้าอยู่เมืองไทยมันก็ไม่ใช่ปัญหาหรอก ซ้งซอสญี่ปุ่นที่เป็นของนำเข้าน่ะ มันต้องมีภาษาอังกฤษ หรือฉลากภาษาไทยแปะไว้อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคอยู่แล้ว
      แต่ถ้าเกิดต้องไปดำรงชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่นล่ะ? ค่าครองชีพสูงขนาดนั้น เพื่อนๆ คงไม่ไปนั่งกินข้าวภัตตาคารกันทุกมื้อหรอกจริงไหมคะ
      แล้วถ้าเป็นแบบนั้น เพื่อนๆ ก็จำเป็นจะต้องทำอาหารเอง! เอาล่ะ วันนี้วันแรก จะทำอะไรดี เครื่องปรุงก็ไม่มี งั้นก่อนอื่นไปหาเครื่องปรุงง่ายๆที่ซุปเปอร์ฯ ดีกว่า (เดินไปซุปเปอร์ฯ.. ถึงแผนกเครื่องปรุง.. เล็งโชวยุ.. กำ =.=) อ่านไม่ออกอ่า..
      คือความจริงอรพิมจะบอก ฉลากบนเครื่องปรุงรสที่วางอยู่บนนชั้นขายของเหนี่ย ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เขียนด้วยคันจิเสมอไปหรอกค่ะ แต่รู้ไว้ใช่ว่า เพราะถ้าเกิดเราไปบ้านเพื่อน หรือไปร้านสะดวกซื้อแบบชาวบ้านที่มีแต่เครื่องปรุงรสที่เขียนชื่อบนฉลากด้วยคันจิหมดเลย ก็จะหยิบไม่ถูกกันนะ
      คือมันอาจจะเป็นเรื่องง่ายๆ แต่อรพิมคิดว่ามันก็อาจจะกลายเป็นช่องโหว่ของเพื่อนๆ (และอรพิมเอง55) ดังนั้นวันนี้อรพิมจะนำคันจิของชื่อเครื่องปรุงญุี่ปุ่นง่ายๆ (แต่มักมองข้าม) มานำเสนอค่ะ


1.โชวยุ หรือ しょうゆ หรือ

醤油

2. มิริน หรือ みりん หรือ

味醂

3. น้ำส้มสายชู หรือ す หรือ

*ซอส "ปอนซึ" ก็ใช้คันจิตัวเดียวกันค่ะ เขียนแบบนี้ → ポン酢

4. เต้าเจี้ยว (มิโซะ) หรือ みそ หรือ

味噌

5. พริกเจ็ดสี มณีเจ็ดแสง พริกเจ็ดรส (ชิจิมิ) หรือ しちみとうがらし หรือ

七味唐辛子

      เครื่องปรุงบางอย่างก็อาจมีประเภทที่แยกย่อยลงไปอีก หากโปรแล้วต้องใช้ความสามารถในการเลือกเครื่องปรุงที่เมาะสมกัยอาหารที่จะทำ แต่ตอนนี้เราเรียนรู้แค่คร่าวๆ พอให้ไม่เฟลนะคะ

      คือมันออกมาเหมือนบล็อกสอนทำอาหารเลยอะ 5555 แต่อรพิมตั้งใจจะมาแชร์เรื่องคันจิจริงๆนะ (จริงๆนะ จริงๆ ไม่ได้หิวเลย)
      ฝากไว้นะคะ เผื่อว่าเพื่อนไหนมีความจำเป็นจะต้องไปอยู่ญี่ปุ่น แต่มีงบประมาณจำกัดมีความเป็นต้องเข้าครัวทำอาหารกินเอง จะได้เชี่ยวชาญในการเลือกซื้อเครื่องปรุงขึ้นมาหน่อยนะ (แค่เลือกซื้อเป็นนะ ไม่ได้หมายความว่าทำอร่อย อิอิ)
      

      ด้วยรัก
      อรพิม

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

I can change!? (ep.2)

      กลับมาอีกแล้วกับการประจานตัวเองด้วยการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น แล้วถอดเสียงมาให้ดูความสมองทึบทึมกันค่ะ
      ความเดิมตอนที่แล้วมีอยู่ว่า อรพิมได้เล่าเรื่องและถอดเสียงเรื่อง 外国人 เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นก็เอามาพิจารณราดูว่าขาดตกบกพร่องตรงไหน นอกจากนั้นก็ได้เรียนรู้และศึกษาคำศัพท์เพิ่มเติมที่ควรนำมาใช้ในเนื้อเรื่อง และเล่าเรื่องให่ด้วยการ "เขียน" แก้ค่ะ ย้ำว่า "เขียน" นะคะ เพราะมันต่างกับการพพูดสดๆเอามากๆ เพราะแม้แต่หลังจากการ "เขียน" แก้ไปแล้วรอบหนึ่ง อรพิมก็ได้ใช้โอกาสที่ฟ้าประทานมาให้ลอง "พูด" เล่าเรื่องดูอีกครั้ง แล้วก็ประสบกับความ "พินาศ" ก่อนอื่นขอให้วนลงไปอ่านการ "พูด" เล่าเรื่องของอรพิมในครั้งแรก และการ "เขียน" เล่าเรื่องของงอรพิมใครั้งที่สอง แล้วเราจะมาดูไปด้วยการว่า การพูดเล่าเรื่องครั้งนี้มีอะไรดีขึ้นบ้างไหม..

โอเคนะ.. (หายใจเข้าลึกๆ ก่อนจะอ่านแล้วเป็นลม) นี่คือข้อความที่ถอดจาการเล่าเรื่องครั้งที่ ๒ ของอรพิมเอง
      えーと、ホテルのロビーにある長いソファーで眼鏡をかけたおじさんは新聞を読んでいました。そのおじさんの近くに小柄にビジネスマンが何もしないで座っていました。すると、そのビジネスマンはある外国人と目が合って今いました。その外国人はね、地図を読んでいて、カメラを首からぶら下げていました。すると、その外国人は何もしないビジネスマンはおじさんの読んでいる新聞の陰に隠れてまいしました。

      ถ้าเทียบกับการ "พูด" เล่าเรื่องในครั้งแรก ก็คงจะต้องบอกว่า "คือๆกันแหละค่ะ" (ซับน้ำตา) เพราะความจริงการเล่าเรื่องรอบที่สองนี้ ติดขัดมากๆๆๆๆๆๆๆ เนื่องด้วยความเกร็งและกังวลตลอดเวลาว่าเราจะต้องทำให้ดีขึ้น เราจะต้องไม่ลืมพูดตรงั้น ไม่ลืมใส่ตรงนี้ สุดท้ายคือพูดไม่ได้ค่ะ หยุดคิดบ่อยมาก (ถึงจะไม่ได้ถอดแล้วเอามาเขียนในบทด้านบนก็เถอะ) แต่ที่ยังพอมีดีบ้าง น่าเป็นตรงที่มีสำนวน ~てしまう (แสดงความรู้สึกไม่อยากให้เกิด ไม่คาดหวังให้เกิด แต่มันดันเกิดขึ้นไปแล้ว) และการให้ ○○はね ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีปฏิกิริยากับเราหรือกับเรื่องที่เราพูด ทำให้การเล่าไม่น่าเบื่อจนเกินไปค่ะ
      อ้อ อีกหย่างหนึ่งคือการหลีกเลี่ยงการใช้ fillers ค่ะ ถึงแม้การเล่าครั้งนี้จะไม่มี filler ปรากฏเลยแม้แต่ครั้งเดียว อาจจะไม่สามารถบอกได้อย่างแท้จริงว่าอรพิมมีการเลือกใช้ หรือควบคุมการใช้ fillers ได้ดีแค่ไหน แต่คิดในอีกแง่ (แง่ที่ปลอบใจตัวเองอะนะ ฮึกๆ) คือการที่ไม่ติดใช้ fillers มากเกินจนเคยตัวอาจจะเป็นผลดี เพราะเราจะใช้มันในเวลาที่จพเป็นจริงๆเท่านั้น การใช้ fillers บ่อยๆ ส่วยนตัวแล้วคิดว่าน่ารำคาญ และทำให้ผู้ฟังจับใจความเรื่องได้ยากขึ้น (กรณีี่ใช้เยอะมากกก จริงๆอะนะ)
      แต่ถ้าเทียบกับการ "เขียน" เล่าเรื่องแล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยค่ะว่ามัน "แย่มาก" เพราะการเขียนเรามีเวลาให้กับมัน มีเวลาไตร่ตรองความคิด เขียนแล้ว แก้แล้วแก้อีกได้ แต่สิ่งที่พูดออกไปแล้วนั้น มันจะคงอยู่ในกระความทรงจำของผู้ฟังตลอดไปค่ะ (เดี๋ยวนะ เหมือนจะเวอร์ แต่คือมันจริง) เพราะฉะนั้น การที่เราจะพูดได้ดี เพื่อให้ผู้ฟังประสนุกสนานประทับใจและไม่เป็นพิษต่อประสาทหูและกระแสจิตนั้น ควรจะต้องหมั่นฝึกฝนค่ะ การที่จะมาแค่ไขสิ่งผิดด้วยการเล่าเรื่องเดิมเพิ่มเพียงรอบเดียว เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่มันจะดีขึ้น ถถ้ามีโอกาส เราก็ควรจะฝึกพูดใหินการสำนวนนู่นนี่นั่น ทั้งการฟังคนอื่นพูดให้เข้าใจและให้เองให้เป็นค่ะ
      เหมือนอรพิมจะทำเวรทำกรรมไว้กับการเล่าเรื่องเรื่องนี้ไว้แค่นี้ เพระตอนต่อไปจะเป็นการเล่าเรื่องอีกเรื่องหนึ่งแล้วค่ะ (ส่วนตัวคิดว่าสนุกกว่าเรื่องนี้นะ อิอิ) แล้วเจอกันในตอนต่อไป สวัสดีค่าาา

I can change! (ep.1)

By myself...

      あのう、ホテルのロビーに男が二人います。男の一人は新聞を読んで、ソファーの… 長いソファーの右側に座っています。もう一人の男が何もしないでソファーの左側に座っています。何もし男は地図を読んでいる外国人に、あのう、目が合って、その外国人はその男に向かって、(ถามทางนี่อะไรนะๆๆ) 道を聞きたいそうです。その何もしない男は新聞を読んでいる男に近づいて、新聞を読んでいるふりをします。

      ถ้าไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจมาก่อน แล้วมีคนมาเล่าอะไรแบบนี้ให้ฟัง คุณจะรู้เรื่องไหม ?
      ถ้ารู้เรื่อง คุณสนุกอะป่าว ?
      (ไม่ต้องตอบก็ได้นะไม่อยากรู้ ฮือ TT)
      มันคือผลผลิตจากการถอดเสียงที่อรพิมที่ได้เล่าเรื่อง (storytelling) จากการ์ตูนสี่ช่องเป็นครั้งแรก ซึ่งเนื้อหาของการ์ตูนนี้หากเล่าเป็นภาษาไทยเรียบๆคร่าวๆก็จะได้ประมาณว่า
      "ที่ล็อบบี้โรงแรมแห่งหนึ่ง มีคุณลุงนั่งอ่านหนังสือพิมพ์อยู่ที่ฟากหนึ่งของโซฟายาว ส่วนอีกฟากหนึ่งของโซฟาก็มีชายร่างเล็กนั่งเหม่อลอยอยู่ ทันใดนั้นเอง ชายร่างเล็กคนนั้นก็บังเอิญหันไปสบตากับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กำลังอ่านแผนที่อยู่ (มีกล้องคล้องคอฮีอยู่ด้วย) นักท่องเที่ยวคนนั้นก็เดินตรงเข้ามาหาชายร่างเล็กเหมือนกับต้องการจะถามทาง ชายร่างเล็กก็ตกใจมาก ลุกลี้ลุกลน จนสุดท้ายก็เข้าไปซ่อนตัวอยู่หลังหนังสือพิมพ์ที่คุณลุงกำลังอ่านอยู่"
      พอจะนึกภาพสถานการณ์คร่าวๆกันออกแล้วใช่ไหมคะ

      แล้วฟ้าก็มอบโอกาสให้อรพิมลองอีกครั้งค่ะ คราวนี้เป็นการเขียนเล่าเรื่อง และปรับปรุงเพิ่มเติมคำศัพท์หลังจากที่ได้ศึกษาเพิ่มเติมแล้ว ผลลัพท์ก็คือ...

      僕は、ホテルのロビーにある長いソファーで新聞を読んでいた。同じソファーでは、もう一人のビジネスマンらしき小柄の男が何もしないでボーとしていたようだ。そこに、地図を読んでいる外国人みたいな男の人がいた。地図を持っているし、カメラも首からぶら下げているし、観光客に違いない。その観光客は、地図が読めなかったように、道を聞くために日本人とか探していたようだ。その瞬間、びくに近くの男は、その観光客と目が合ってしまって、びっくりした。観光客が自分に向かっている間に、かわいそうなビジネスマンは僕に近づいてきて、僕が読んでいる新聞の陰に自分を隠れてしまった。

Oh, I see...

      สิ่งที่อรพิมทำขาดตกบกพร่องไปในการเล่าเรื่องครั้งแรก มีอยู่หลายจุดด้วยกัน เช่น ขาดสำนวนการแสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกับตัวละคร เช่น ~てしまう ในจังหวะที่ ビジネスマン บังเอิญสบตากกับ 外国人 การขาดอะไรตรงนี้ไปนั้นทำให้เรื่องแลดูน่าเบื่อไม่มีชีวิตชีวา นอกจากนี้การเล่าเรื่องรอบแรกอรพิมใช้รูป て เยอะมากกกก ซึ่งไม่สมควรเลย เพราะการเล่าให้เป็นธรรมชาติให้ได้เหมือนคนญี่ปุ่นนั้น ต้องมีการแบ่งประโยคและ 文節 ที่สวยงามและเข้าใจได้ง่ายตามบริบท ไม่ใช้สักแต่จะใช้ て เล่าเหตุหารณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ถึงจะฟังรู้เรื่องแต่น่าเบื่อละไม่สวยงาม (โอ้ไม่นะแค่จะเล่าให้รู้เรื่องก็หอบแล้ว)
      ส่วนรอบที่แก้ ต้องออกตัวก่อนว่าการแก้งานคราวนี้ ก่อนแก้ได้อ่านการเล่าเรื่องนี้ฉบับภาษาญี่ปุ่นของคนญี่ปุ่นมาหลายอันค่ะ อรพิมลองเขียนเล่าเรื่องโดยทสมมติให้ตัวเองเป็นัวละครในเรื่องไปเลยค่ะ การเขียนในลักษณะนี้ จะมีประโยชน์ตรงที่ ผู้ฟังหรือผู้อ่านจะไม่สับสนเรื่องมุมมองของผู้เล่าเรื่องจินตนาการตาได้ง่ายขึั้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยให้เข้าถึงอารมณ์ของตัวละครมากยิ่งขึ้น (ความจริงถ้าสมมติตัวเองให้เป็น ビジネスマン ก็น่าจะสนุกสนานทีเดียวเชียว พลาดค่ะ) นอกจากเปลี่ยนมุมมองในการเล่าเรื่องแล้ว อรพิมก็ได้แก้ไขเรื่อง ~てしまう เรื่องคำบอกทิศทางอย่าง 近づいてきて และเพิ่มเติมคำศัพท์ที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเช่น ห้อยกล้องไว้ที่คอ (カメラを首からぶら下げる)แถมยังมีความเห็นด้วยนะ เพราะตอนที่ ビジネスマン กำลังจะโดน 外国人 คุกคามอรพิมใช้คำว่า かわいそうなビジネスマン

      การเขียนพัฒนาการตัวเองเป็นอะไรที่สนุกนะคะ แต่ก็มีความเฟลไปในเวลาเดียวกัน แต่หวังว่าความเฟลท่เกิดขึ้นในทุกๆครั้งจะเป็นแรงผลักดันให้เราทำได้ดีขึ้นในครั้งหน้าและครั้งต่อๆไป (อวยพรตัวเอง สาธุๆๆๆ) ในตอนนี้ขอพอแค่นี้ก่อน การประจานตัวเองอาจจะมีต่อในตอนหน้า สวัสดีค่ะ

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

มีはมั้ยは? หรือไม่มีは? หรือยังไงは?

       จะเกิดอะไรขึ้นถ้าในการแนะนำตัวครั้งแรกจะต้องพูดถึงงานวิจัย(研究)ของตัวเองให้คนอื่นฟัง?
       เราจะสามารถพูดเป็นภาษาญี่ปุ่นได้เกิน ๒ ประโยคหรือไม่ ?
       โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการอธิบาย 研究 ที่เป็นอุดมคติ !
       หลังจากเฟลกับการอธิบาย 研究 จบ ๒ ประโยคห้วนๆด้วยปากเปล่าแล้ว อรพิมก็ได้นำไปเนื้อหาที่ว่าไปขยายความและไปขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วม Lang-8 ชาวญี่ปุ่นให้ช่วยแก้กันค่ะ โดยต้นฉบับที่อรพิมโพสต์ไปหน้าตาเป็นอย่างนี้

       私は自然環境に興味があるので、環境問題について研究しています。
       実は、昔から自然のことに関心がなかったんですけど、高校の頃からバードウオッチングをしています。
       鳥の種類を一つずつ学んでいるうちに、自然のことも学んで興味が持ってきました。
       そのうちに、毎日鳥も自然も人間に被害されているのを知って、守りたい感じがしています。
       そのため、私は野鳥と自然のために、消滅した野鳥と都会においての環境問題の関係についての研究を行っています。

       พอโพสต์ปุ๊บก็มีเพื่อนๆมีน้ำใจมาแก้ให้ ๒ คนค่ะ ประโยคดูเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไร ส่วนในประโยคที่ ๒ นั้น ถูกแก้โดยเพื่อนทั้ง ๒ คน ดังนี้ค่ะ

       実は、昔から自然のことに関心がなかったんですけど、高校の頃からバードウオッチングをしています。↓

       ①実は、昔から自然のことに関心がなかったんですけど、高校の頃からバードウオッチングをしています。
       ②実は、昔自然のことに関心がなかったんですけど、高校の頃からバードウオッチングをしています。

       ในส่วนของ ① ที่โดนแก้ตรง 自然のことには関心がなかった สาเหตุน่าจะเป็นเพราะ เพื่อนสหาย Lang-8 คนนี้ ต้องการจะเน้นว่า "เรื่องอื่นเราอาจจะความสนใจนะ แต่เรื่องงธรมชาติเนี่ย ไม่สน"
       ส่วน ② ทีโดนแก้ตรง 昔は… น่าจะเป็นเพราะต้องการเน้นว่า "แต่ก่อนไม่สนใจนะ แต่ตอนนี้อะสนแล้ว"
       กล่าวคือ (เท่าที่เข้าใจ) คนญี่ปุ่นสองคนที่อ่านประโยคนี้ สาเหตุหนึ่งที่เลือกเติม は เพิ่มเข้าไปคนละที่ เข้าใจและมองว่าควรจะเน้นประเด็นใดประเด็นหนึ่งไม่เหมือนกัน คือมีมุมมองงานวิจัยมุ้งมิ้งของอรพิมที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง
       ที่น่าสังเกตคือ ประโยคที่อรพิมเขียนเป้นต้นฉบับ นอกจากตรง 実は แล้ว ก็ไม่มีคำช่วย は อีกให้เลย แต่คนญี่ปุ่นที่อ่านงานชิ้นนี้แล้ว น่าจะเกิดอิมเมจขึ้นบางอย่างให้หัวประมาณว่า "เอ นี่มันไม่น่าใช่แล้วนะ มันต้องมีประเด็นสิ" คือมันต้องชัดเจนกว่านี้ค่ะ ชัดเจนกว่าการมาเล่าเรื่องให้ฟังแบบน่าเบื่อล่องลอยว่า "แต่ก่อนไม่มีความสนใจเรื่องธรรมชาติ" (ลองอ่านออกเสียงแบบไม่มีเสียงวรรณยุกต์อะค่ะ ประมาณนั้น55) จึงเลือกที่จะเติม は เข้าไป เปลี่ยนจากต้นฉบับที่ は ล่องหน เป็นการสร้างประเด็นและดูมีจุดมุ่งหมายในการเขียนมากขึ้นค่ะ

ปล. ใน ② สหาย lang-8 ของเราอาจจะมองว่า ไม่ควรใช้คำว่า から เพราะเป็นการแสดงช่วงเวลาทีไม่ได้มีความสนใจมาเป็นระยะเวลานานเรื่อยมาจนปัจจุบัน ซึ่งอาจจะไม่ใช่ เพราะเราอาจจะค่อยๆสนใจมากขึ้นๆก็เป็นได้

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

恋愛って何なんだろう

     กลับมาแล้วๆ แหม่ๆ บอกไว้ว่าจะมาเขียนรวดเดียว แต่ก็มีปัญหาชีวิตเยอะเหลือเกินค่ะ
     ความจริงนอกจากเรื่องอ่านหนังสือสอบเหนี่ย ก็มีเรื่องความรักนี่แหละ ที่กำลังประสบปัญหาเน่าเฟะเละตุ้มเป๊ะ เวลามันแย่มากๆอรพิมจะเป็นคนชอบเขียนนู่นนี่นั่นเพื่อระบายความรู้สึกค่ะ แล้วมันก็เลยไปสะกิดต่อมสงสัยเกี่ยวกับคันจิสองตัวที่แปลว่า "ความรัก" นั่นก็คือ

และ

     อรพิมคิดว่าเพื่อนๆทุกคนที่เรียนญี่ปุ่น อย่างน้อยๆก็น่าจะรู้จักคำว่า 初恋 หรือไม่ก็ 愛している (แหม่ๆรู้นะ บางทีก็อยากจะบอกรักแฟนเป็นญี่ปุ่นบ้างอะไรบ้าง) หรือถ้าผ่านอะไรมาเยอะหน่อย ก็อาจจะมีโอกาสใช้คำว่า 失恋 ที่แปลว่าอกหัก (ไม่เอานะไม่ร้อง)
     และเรื่องที่จะเอามาเป็นประเด็นในวันนี้ก็คือ ความแตกต่างของคันจิตัว 恋 และตัว 愛 ค่ะ
     เคยสงสัยไหมว่า อย่างคำว่า 初恋 ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันจนชินเหนี่ย ทำไม่ต้องใช้คันจิ 恋 ทำไมไม่เขียนเป็น 初愛 หรืออย่าง 愛犬 ทำไม้ทำไมไม่เป็น 恋犬 ?
     งั้นอรพิมจะขอธิบายความแตกต่างของคันจิทั้งสองเลยนะคะ (ไปถามมาจากพจนานุกรม 類語 อีกทีค่ะ)

     คันจิ  นั้น จะหมายความถึงความรัก ที่เกิดขึ้นเฉพาะกับหนุ่มสาวเท่านั้น จึงมีภาพลักษณ์ของความโรมานส์ (ฉึกๆ) รวมอยู่ด้วย
     คันจิ  จะมีความหมายครอบคลุมความรัก ที่เกิดขึ้นกับทั้งหนุ่มสาว บุคคลอื่นๆ ป่ะป๊า ม่ะม้า หรือแม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น น้องหมาน้องแมว ได้หมดค่ะ
    ส่วนคำว่า ที่เกิดจากการนำคันจิทั้งสองมารวมกันนั้น จะมีความหมายเหมือน 恋 ค่ะ

    เพราะฉะนั้น ก็น่าจะพออธิบายได้ว่าบางคำทำไมต้องใช้ 恋 บางคำทำไมต้องใช้ 愛 มาถึงขั้นตอนนี้ แจงก่อนว่าเป็นการใช้พลังสมองของตัวเองล้วนๆ กรุณาใช้วิจารณญาณ จะลองยกตัวอย่างดูนะคะ

初恋
อย่างที่ได้เกริ่นไปเมื่อกี้นี้ค่ะ คำนี้ไม่สามารถใช้คันจิตัว 愛 ได้ เพราะบริบทที่เราใช้คำๆนี้เท่าที่ลองค้นดู จะหมายถึง "รักแรก" ที่เราเติบโตมาแล้วพบรักกับชายงามหญิงงามแล้วเป็นอันต้องหลงรักตราตรึงตะลึงพรึงเพริด เพราะฉะนั้น คำนี้จะไม่ใช้ตัว 愛 ค่ะ เพราะถ้าพูดถึง 愛 แล้ว น่าจะมีความหมายรวมไปถึงความรักที่มีต่อพ่อแม่หรือหมาแมวทีเราเคยเลี้ยงตอนสิบขวบ ซึ่งนั้นจะไม่มี "ความโรมานส์" อย่างที่ 恋 มีค่ะ

失恋
(คำนี้อ่านว่า しつれん นะคะ ไม่ใช่ しつこい เคยเจอคนเข้าใจผิดเยอะเบย) คำนี้ก็ประมาณเดียวกันค่ะ คือการที่เราถูกหักอกโดยใครบางคนนั้น คนๆนั้นคงไม่ใช่พ่อแม่ หรือหมาแมวเป็นแน่ค่ะ เพราะการถูกหักอกนั้น มันเกิดขึ้นเพราะหัวใจเจ้ากรรมไปมีความรักแบบ 恋 กับหนุ่มรูปงามข้างบ้านค่ะ ไม่ใช่แบบ 愛 ที่เรามีกับพ่อแม่หรือน้องแมว


     สุดท้ายอรพิมจะขอยกตัวอย่างคำที่ใช้คันจิ 愛 เพิ่มสักสองสามตัวนะคะ เพื่อที่จะได้เข้าใจทั่วกันเรื่องความหมายที่แตกต่าง เช่น

母性愛 ที่แปลว่าความรักของแม่ทีมีต่อลูก
愛犬 ที่แปลว่าสุนัขอันเป็นที่รัก
兄弟愛 ความรักระหว่างพี่น้อง ฯลฯ

     คำพวกนี่ จะไม่ใช้แทนที่ด้วยคันจิ 恋 ด้วยเหตุผลที่ว่า ความรักของแม่ ความรักระหว่างพี่น้อง และความรักที่มีีต่อน้องหมานั้น ไม่ใช้ความรักแบบ 恋 ที่มักเปี่ยมไปด้วยอารมณ์โรแมนติกนั่นเอง


วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

製作? 制作?

สวัสดีค่ะ หลังจากห่างหายมานานก็ได้เวลาปั่นงานจ้า ฮาๆ.. (เรื่องจริงคือขำไม่ออกละ)

                ความจริงอัดอั้นมานานมากค่ะ คือมีหลายเรื่องมากๆเลยที่อยากเขียน แต่ไม่มีจังหวะจะเขียนเท่าไหร่เลย ถึงมีจังหวะก็คิดว่าไม่น่าจะทำได้ดี เลยขอเอาออกรวดเดียวตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปค่ะ 555 (อันนี้ขำจริงๆ)

                เอ่อ.. เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
                อรพิมเชื่อว่า เพื่อนๆที่เคยเรียนหรือกำลังญี่ปุ่นต้องมีบ้างที่จะสับสนว่า คำว่า せいさく นั้น แท้ที่จริงแล้วเขียนว่า 制作 หรือ 製作กันแน่ แล้วคันจิ  และ นี่มันทำให้ความหมายของคำแตกต่างกันอย่างไร อรพิมจะพาเพื่อนๆหาคำตอบกันค่ะ
                ก่อนอื่น อรพิมได้ไปขอความช่วยเหลือจากพจนานุกรมชื่อ 類語例解辞典 ค่ะ เขาก็ให้คำอธิบายมา มีทั้งความหมายและตัวอย่างการใช้ของทั้งสองคำ
                เริ่มที่ 制作 ก่อนนะคะ พี่ 類語例解 บอกว่า「制作は、映画やテレビなどの番組を作ることや、そういう仕事、役割をいう」นั่นก็คือ คำนี้ มีความหมายว่า "การผลิตหรืองานทีเกี่ยวกับศิลปะหรือสิ่งที่ต้องใช้เทคนิคอย่างหนัง หรือรายการทีวี" ค่ะ
                ส่วน 製作 นั่น พี่ 類語例解 บอกว่า「製作は、道具や機会などを用いて、物品を作ること」นั่นก็คือ คำนี้ มีความหมายว่า "การใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรผลิตสิ่งของ"
               
                ตอนนี้จะลองยกตัวอย่างการใช้ของทั้งสองคำนี้ให้ดูสักคำละประโยคค่ะ
                制作:テレビ局で教育番組の制作にたずさわる
            製作:模型飛行機を製作する

 *模型 = a model


                ถ้าจะให้เข้าใจง่ายขึ้น 制作 แปลว่า production; product; a work (of arts) ส่วน 製作 ก็จะแปลว่าmanufacture นั่นเอง