วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

恋愛って何なんだろう

     กลับมาแล้วๆ แหม่ๆ บอกไว้ว่าจะมาเขียนรวดเดียว แต่ก็มีปัญหาชีวิตเยอะเหลือเกินค่ะ
     ความจริงนอกจากเรื่องอ่านหนังสือสอบเหนี่ย ก็มีเรื่องความรักนี่แหละ ที่กำลังประสบปัญหาเน่าเฟะเละตุ้มเป๊ะ เวลามันแย่มากๆอรพิมจะเป็นคนชอบเขียนนู่นนี่นั่นเพื่อระบายความรู้สึกค่ะ แล้วมันก็เลยไปสะกิดต่อมสงสัยเกี่ยวกับคันจิสองตัวที่แปลว่า "ความรัก" นั่นก็คือ

และ

     อรพิมคิดว่าเพื่อนๆทุกคนที่เรียนญี่ปุ่น อย่างน้อยๆก็น่าจะรู้จักคำว่า 初恋 หรือไม่ก็ 愛している (แหม่ๆรู้นะ บางทีก็อยากจะบอกรักแฟนเป็นญี่ปุ่นบ้างอะไรบ้าง) หรือถ้าผ่านอะไรมาเยอะหน่อย ก็อาจจะมีโอกาสใช้คำว่า 失恋 ที่แปลว่าอกหัก (ไม่เอานะไม่ร้อง)
     และเรื่องที่จะเอามาเป็นประเด็นในวันนี้ก็คือ ความแตกต่างของคันจิตัว 恋 และตัว 愛 ค่ะ
     เคยสงสัยไหมว่า อย่างคำว่า 初恋 ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันจนชินเหนี่ย ทำไม่ต้องใช้คันจิ 恋 ทำไมไม่เขียนเป็น 初愛 หรืออย่าง 愛犬 ทำไม้ทำไมไม่เป็น 恋犬 ?
     งั้นอรพิมจะขอธิบายความแตกต่างของคันจิทั้งสองเลยนะคะ (ไปถามมาจากพจนานุกรม 類語 อีกทีค่ะ)

     คันจิ  นั้น จะหมายความถึงความรัก ที่เกิดขึ้นเฉพาะกับหนุ่มสาวเท่านั้น จึงมีภาพลักษณ์ของความโรมานส์ (ฉึกๆ) รวมอยู่ด้วย
     คันจิ  จะมีความหมายครอบคลุมความรัก ที่เกิดขึ้นกับทั้งหนุ่มสาว บุคคลอื่นๆ ป่ะป๊า ม่ะม้า หรือแม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น น้องหมาน้องแมว ได้หมดค่ะ
    ส่วนคำว่า ที่เกิดจากการนำคันจิทั้งสองมารวมกันนั้น จะมีความหมายเหมือน 恋 ค่ะ

    เพราะฉะนั้น ก็น่าจะพออธิบายได้ว่าบางคำทำไมต้องใช้ 恋 บางคำทำไมต้องใช้ 愛 มาถึงขั้นตอนนี้ แจงก่อนว่าเป็นการใช้พลังสมองของตัวเองล้วนๆ กรุณาใช้วิจารณญาณ จะลองยกตัวอย่างดูนะคะ

初恋
อย่างที่ได้เกริ่นไปเมื่อกี้นี้ค่ะ คำนี้ไม่สามารถใช้คันจิตัว 愛 ได้ เพราะบริบทที่เราใช้คำๆนี้เท่าที่ลองค้นดู จะหมายถึง "รักแรก" ที่เราเติบโตมาแล้วพบรักกับชายงามหญิงงามแล้วเป็นอันต้องหลงรักตราตรึงตะลึงพรึงเพริด เพราะฉะนั้น คำนี้จะไม่ใช้ตัว 愛 ค่ะ เพราะถ้าพูดถึง 愛 แล้ว น่าจะมีความหมายรวมไปถึงความรักที่มีต่อพ่อแม่หรือหมาแมวทีเราเคยเลี้ยงตอนสิบขวบ ซึ่งนั้นจะไม่มี "ความโรมานส์" อย่างที่ 恋 มีค่ะ

失恋
(คำนี้อ่านว่า しつれん นะคะ ไม่ใช่ しつこい เคยเจอคนเข้าใจผิดเยอะเบย) คำนี้ก็ประมาณเดียวกันค่ะ คือการที่เราถูกหักอกโดยใครบางคนนั้น คนๆนั้นคงไม่ใช่พ่อแม่ หรือหมาแมวเป็นแน่ค่ะ เพราะการถูกหักอกนั้น มันเกิดขึ้นเพราะหัวใจเจ้ากรรมไปมีความรักแบบ 恋 กับหนุ่มรูปงามข้างบ้านค่ะ ไม่ใช่แบบ 愛 ที่เรามีกับพ่อแม่หรือน้องแมว


     สุดท้ายอรพิมจะขอยกตัวอย่างคำที่ใช้คันจิ 愛 เพิ่มสักสองสามตัวนะคะ เพื่อที่จะได้เข้าใจทั่วกันเรื่องความหมายที่แตกต่าง เช่น

母性愛 ที่แปลว่าความรักของแม่ทีมีต่อลูก
愛犬 ที่แปลว่าสุนัขอันเป็นที่รัก
兄弟愛 ความรักระหว่างพี่น้อง ฯลฯ

     คำพวกนี่ จะไม่ใช้แทนที่ด้วยคันจิ 恋 ด้วยเหตุผลที่ว่า ความรักของแม่ ความรักระหว่างพี่น้อง และความรักที่มีีต่อน้องหมานั้น ไม่ใช้ความรักแบบ 恋 ที่มักเปี่ยมไปด้วยอารมณ์โรแมนติกนั่นเอง


5 ความคิดเห็น:

  1. เคยสงสัยเหมือนกันนะ ว่าทำไมคันจิความรักมันต้องแยกใช้สองตัวด้วยแต่ก็ไม่เคยคิดหาคำตอบเลย แต่พออ่านของอรแล้วคิดว่าเอามาใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งได้เลยนะ ชอบที่บอกวิธีการอ่าน失恋ด้วยเอาจริงเผลออ่านผิดแบบนั้นบ่อยๆเหมือนกัน ต่อจากนี้จะไม่อ่านผิดละ(ว่าแต่เขียนเหมือนกันทำไมต้องทำให้มันออกเสียงต่างกันด้วยห้ะ!) ป.ล.สู้ๆกับความรักนะอร มีอะไรเพื่อนๆเป็นกำลังใจให้อยู่น้า

    ตอบลบ
  2. น่าสนใจมากคะ ก็เคยสงสัยเหมือนกันว่ามันต่างกันยังไง ขอบคุณมากๆนะคะ :)

    ตอบลบ
  3. โหว เพิ่งเคยรู้ความแตกต่างของสองตัวนี้ จริงๆไม่เคยสงสัยเลยอ่ะ นึกว่าเพราะแปลว่ารักเหมือนกันเฉยๆ 555555 เป็นความรู้ใหม่เลย ยอดเยี่ยมกระเทียมดองมากๆ จะจดจำเอาไว้ ชอบๆ

    ตอบลบ
  4. น่าสนใจมากๆเลย สำหรับเรารู้สึกว่า愛มันดูจริงจังกว่า恋ยังไงไม่รู้555

    ตอบลบ
  5. นี่รีบมาอ่านเพราะสะดุดใจชื่อหัวข้ออะ ชอบมาก
    恋愛って何なんだろう สรุปตอบได้ยัง ไม่เอานะไม่ร้อง T_T เดี๋ยวพี่ร้องด้วย ฮือออ55
    สรุปคีย์เวิร์ดคือความโรแมนซ์นั่นเอง นารุโฮโดะเนะ
    ชอบคำว่า 母性愛 กับ 兄弟愛 มากเลย เพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรก
    สังเกตว่าพอเป็นคนในครอบครัวแล้วจะใช้愛เลย สุดยอด
    แม้แต่เรื่องความรักคนญี่ปุ่นเค้ายังแบ่งประเภทไว้เลย ในขณะที่ภาษาไทยเรียกว่ารักหมดเลย
    คิดได้ไงอะฮืออออ มองอีกแง่愛ดูเป็นรักแท้ยั่งยืนบริสุทธิ์ดูดีมากเลย T_T
    เหมือนคนญี่ปุ่นจะบอกเราว่ารักของแม่และครอบครัวเป็นรักที่บริสุทธิ์เนอะ ชอบจัง T_T

    ตอบลบ