วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

I can change!? (ep.2)

      กลับมาอีกแล้วกับการประจานตัวเองด้วยการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น แล้วถอดเสียงมาให้ดูความสมองทึบทึมกันค่ะ
      ความเดิมตอนที่แล้วมีอยู่ว่า อรพิมได้เล่าเรื่องและถอดเสียงเรื่อง 外国人 เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นก็เอามาพิจารณราดูว่าขาดตกบกพร่องตรงไหน นอกจากนั้นก็ได้เรียนรู้และศึกษาคำศัพท์เพิ่มเติมที่ควรนำมาใช้ในเนื้อเรื่อง และเล่าเรื่องให่ด้วยการ "เขียน" แก้ค่ะ ย้ำว่า "เขียน" นะคะ เพราะมันต่างกับการพพูดสดๆเอามากๆ เพราะแม้แต่หลังจากการ "เขียน" แก้ไปแล้วรอบหนึ่ง อรพิมก็ได้ใช้โอกาสที่ฟ้าประทานมาให้ลอง "พูด" เล่าเรื่องดูอีกครั้ง แล้วก็ประสบกับความ "พินาศ" ก่อนอื่นขอให้วนลงไปอ่านการ "พูด" เล่าเรื่องของอรพิมในครั้งแรก และการ "เขียน" เล่าเรื่องของงอรพิมใครั้งที่สอง แล้วเราจะมาดูไปด้วยการว่า การพูดเล่าเรื่องครั้งนี้มีอะไรดีขึ้นบ้างไหม..

โอเคนะ.. (หายใจเข้าลึกๆ ก่อนจะอ่านแล้วเป็นลม) นี่คือข้อความที่ถอดจาการเล่าเรื่องครั้งที่ ๒ ของอรพิมเอง
      えーと、ホテルのロビーにある長いソファーで眼鏡をかけたおじさんは新聞を読んでいました。そのおじさんの近くに小柄にビジネスマンが何もしないで座っていました。すると、そのビジネスマンはある外国人と目が合って今いました。その外国人はね、地図を読んでいて、カメラを首からぶら下げていました。すると、その外国人は何もしないビジネスマンはおじさんの読んでいる新聞の陰に隠れてまいしました。

      ถ้าเทียบกับการ "พูด" เล่าเรื่องในครั้งแรก ก็คงจะต้องบอกว่า "คือๆกันแหละค่ะ" (ซับน้ำตา) เพราะความจริงการเล่าเรื่องรอบที่สองนี้ ติดขัดมากๆๆๆๆๆๆๆ เนื่องด้วยความเกร็งและกังวลตลอดเวลาว่าเราจะต้องทำให้ดีขึ้น เราจะต้องไม่ลืมพูดตรงั้น ไม่ลืมใส่ตรงนี้ สุดท้ายคือพูดไม่ได้ค่ะ หยุดคิดบ่อยมาก (ถึงจะไม่ได้ถอดแล้วเอามาเขียนในบทด้านบนก็เถอะ) แต่ที่ยังพอมีดีบ้าง น่าเป็นตรงที่มีสำนวน ~てしまう (แสดงความรู้สึกไม่อยากให้เกิด ไม่คาดหวังให้เกิด แต่มันดันเกิดขึ้นไปแล้ว) และการให้ ○○はね ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีปฏิกิริยากับเราหรือกับเรื่องที่เราพูด ทำให้การเล่าไม่น่าเบื่อจนเกินไปค่ะ
      อ้อ อีกหย่างหนึ่งคือการหลีกเลี่ยงการใช้ fillers ค่ะ ถึงแม้การเล่าครั้งนี้จะไม่มี filler ปรากฏเลยแม้แต่ครั้งเดียว อาจจะไม่สามารถบอกได้อย่างแท้จริงว่าอรพิมมีการเลือกใช้ หรือควบคุมการใช้ fillers ได้ดีแค่ไหน แต่คิดในอีกแง่ (แง่ที่ปลอบใจตัวเองอะนะ ฮึกๆ) คือการที่ไม่ติดใช้ fillers มากเกินจนเคยตัวอาจจะเป็นผลดี เพราะเราจะใช้มันในเวลาที่จพเป็นจริงๆเท่านั้น การใช้ fillers บ่อยๆ ส่วยนตัวแล้วคิดว่าน่ารำคาญ และทำให้ผู้ฟังจับใจความเรื่องได้ยากขึ้น (กรณีี่ใช้เยอะมากกก จริงๆอะนะ)
      แต่ถ้าเทียบกับการ "เขียน" เล่าเรื่องแล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยค่ะว่ามัน "แย่มาก" เพราะการเขียนเรามีเวลาให้กับมัน มีเวลาไตร่ตรองความคิด เขียนแล้ว แก้แล้วแก้อีกได้ แต่สิ่งที่พูดออกไปแล้วนั้น มันจะคงอยู่ในกระความทรงจำของผู้ฟังตลอดไปค่ะ (เดี๋ยวนะ เหมือนจะเวอร์ แต่คือมันจริง) เพราะฉะนั้น การที่เราจะพูดได้ดี เพื่อให้ผู้ฟังประสนุกสนานประทับใจและไม่เป็นพิษต่อประสาทหูและกระแสจิตนั้น ควรจะต้องหมั่นฝึกฝนค่ะ การที่จะมาแค่ไขสิ่งผิดด้วยการเล่าเรื่องเดิมเพิ่มเพียงรอบเดียว เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่มันจะดีขึ้น ถถ้ามีโอกาส เราก็ควรจะฝึกพูดใหินการสำนวนนู่นนี่นั่น ทั้งการฟังคนอื่นพูดให้เข้าใจและให้เองให้เป็นค่ะ
      เหมือนอรพิมจะทำเวรทำกรรมไว้กับการเล่าเรื่องเรื่องนี้ไว้แค่นี้ เพระตอนต่อไปจะเป็นการเล่าเรื่องอีกเรื่องหนึ่งแล้วค่ะ (ส่วนตัวคิดว่าสนุกกว่าเรื่องนี้นะ อิอิ) แล้วเจอกันในตอนต่อไป สวัสดีค่าาา

1 ความคิดเห็น:

  1. そうですね、書くことと話すことはぜんぜん違いますよね。
    2回目に話したもの(かな?)、3コマ目がありませんよ!これじゃマンガを見たことがない人は何の話をされているのかちんぷんかんぷんだと思います。
    1コマ目の2人の男性の描写は丁寧でいいなと思いました。

    ตอบลบ