วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

もしかして、私は晩婚…

                ความจริงแล้ว นอกเหนือจากจะมาเขียนโพสต์เปิดตัวคืออรพิมจะมาบอกว่า อรพิมเจอจุดเปลี่ยนอันใหญ่หลวงในชีวิตค่ะ อาจจะต้องเปลี่ยนเป้าหมายจากการเพิ่มพูนคำศัพท์ประเภท コロケーション เป็นการเพิ่มคำศัพท์ประเภท 漢語 แทนนะคะ อย่างไรก็ตามจะพยายามสละเวลาที่มีอยู่ค้นคว้าอย่างเต็มที่นะคะ

                ...และแล้วก็จะขอเริ่มที่โพสต์แรกค่ะ หลังจากร้างลาไม่ใส่ใจจะเริ่มเขียนเป็นเวลานาน

                เพื่อนๆ หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับตัว ในฐานะคำนามที่แปลว่า "ยามเย็น" หรือ "กลางคืน" มากที่สุดใช่ไหมเอ่ย
                แต่เรื่องมันไม่ได้มีแค่นั้นค่ะ เรื่องมันมีอยู่ว่า วันนึงอรพิมได้ไปเล่นซนอยู่ในเว็บไซต์เกี่ยวกับ "เห็ด" เนื่องจากเล่นเกมเก็บเห็ด なめこ栽培 แล้วสงสัยว่าไอ้เห็ดนาเมโกะเนี่ย รูปร่างหน้าตาจริงๆของมันเป็นอย่างไร แต่เอาเข้าจริงๆอรพิมก็ไม่ได้คำตอบของคำถามที่ว่านี่เท่าไหร่ แต่ไปเปิดเจอ 漢語 ที่สะดุดตาเข้าสองคำค่ะ นั่นก็คือคำว่า 晩秋(ばんしゅう)~ 早春(そうしゅん)(ความจริงแล้วมันคือช่วงที่จะเก็บเกี่ยวเห็ดเข็มทองหรือ エノキタケ ได้ตามธรรมชาติค่ะ) ดูจากคันจิแล้ว อรพิมก็เดาๆไปเรื่อยค่ะ ว่าสองคำนี้น่าจะมีความหมายว่า "ปลายฤดูใบไม้ร่วง" และ "ต้นฤดูใบไม้ผลิ" ตามลำดับ ซึ่งก็ถูกค่ะ แต่อรพิมไม่แน่ใจ เลยลองเปิดพจนานุกรมเพื่อความแน่ใจอีกที แต่อรพิมเปิดดูมันทุกฤดูคู่กับตัวเลยค่ะ ซึ่งได้ผลดังนี้
晩春(ばんしゅん)                หมายถึง 春の末 / late spring
晩夏(ばんか)                        หมายถึง 夏の末 / late summer
晩秋(ばんしゅう)                หมายถึง 秋の末 / late autumn
晩冬(ばんとう)                    หมายถึง 冬の末 / late winter
                จะเห็นได้ว่าในที่นี้ คันจิตัว นั้นถูกใช้ร่วมกับคันจิแสดง "ฤดู" เพื่อแสดงช่วงเวลาว่าเป็นช่วงปลายของฤดูนั้นๆ อรพิมจึงได้ค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากพจนานุกรมมาว่า คันจิตัว  นั้น มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง ผลก็คือ คันจิตัว นั้นมีความหายว่า ยามเย็น/ค่ำ บั้นปลาย พระอาทิตย์ตก ช่วงปลายของยุคสมัย สาย
                ฉะนั้น นอกจากนี้ ตัวยังใช้ร่วมกับคันจิอื่นๆอีกมากมายเพื่อแสดงความหมายในเชิงที่กล่าวมา อย่างเช่น
                晩年(ばんねん)ที่แปลว่า "บั้นปลายชีวิต"
                晩学(ばんがく)ที่ใช้เรียกการเริ่มเรียนหรือศึกษาบางอย่างตอนมีอายุแล้ว (อายุเป็นเพียงตัวเลข)
                晩婚(ばんこん)ที่ใช้เรียกการแต่งงานตอนมีอายุมาก (ไม่เอานะไม่ร้อง)
   อย่างไรก็ตามคำศัพท์เหล่านี้อาจใช้ไม่ได้ผลดีในทุกสถานการณ์ อาจะต้องอาศัยบริบทและการลาเทศะที่เหมาะสมด้วยนะคะ วันนี้ขอจบการรายงานแต่เพียงเท่านี้นะคะ เพิ่งเห็นว่าเข็มนาฬิกาชี้ขึ้นฟ้าทั้งสองเข็มแล้ว ได้เวลาบรรทม โอยาสึมินาไซ.
                
                ปล. ตัว 晩 นั้น ใช้กับคันจิแสดงฤดูได้ครบทั้งสี่ก็จริง แต่สำหรับตัว 早 นั้น เมื่อค้นในพจนานุกรมแล้วพบใช้กับเพียงสองฤดู คือ 早春(そうしゅん) และ 早秋(そうしゅう)เทานั้น นับว่าสนใจไม่น้อย ถ้ามีเวลาจะค้นคว้าเพิ่มเติมมาแชร์กันนะคะ

5 ความคิดเห็น:

  1. こんにちは、はじめまして。

    まさか、なめこのゲームから晩秋に発展するとは!ゲームもあなどれませんね。

    「晩」と季節ですか、言われてみればそうですが、今まで意識したことがありませんでした。
    「早」は夏と冬とは一緒になれないんですね。だから代わりに初夏、初冬という言葉があるんでしょうか。

    ちなみに、わたしは「早秋」と聞いて柿が浮かびました。タイではあまり柿は食べないようですが、日本にはいろいろな種類の柿があります。

    さて「晩」ですが、わたしが使うものはほかに「晩年(ばんねん)」「大器晩成(たいきばんせい)」「晩餐(ばんさん)」「晩酌(ばんしゃく)」ぐらいでしょうか。

    今回の「晩」のようにまたおもしろい発見があるといいですね。楽しみにしています。

    ตอบลบ
  2. พี่มิ้นเคยเห็น 晩แบนนี้ตามนิตยสารค่ะ แต่ก็ไม่ได้เอะใจอะไรว่ามันหมายถึง late
    ในใจก็นึกแค่ว่า อ๋อ มันคงหมายถึงช่วงกลางคืนมัน ฤดูก็ต้องมีร้อนตอนกลางคืน ประมาณนี้

    พอมาอ่านของน้องแล้วถึงบางอ้อ ^_^

    ตอบลบ
  3. วันนี้ก็เพิ่งเจอตอนเรียน Hist Jp Lit มาคำว่า 晩年
    ไม่นึกว่าจะใช้กับฤดูได้ด้วยยย >.<

    ตอบลบ
  4. ชื่อเรื่องน่าสนใจทำให้อยากอ่าน... หากจบด้วย かも?จะยิ่งชัดเจนมากขึ้น อย่าลืมทำการบ้านlang8นะค้า

    ตอบลบ
  5. หวาย หนูเพิ่งเห็นขอโทษนะคะ เล่นไม่ค่อยเป็น555
    ขอบคุณมากๆนะค้า

    ตอบลบ