วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

製作? 制作?

สวัสดีค่ะ หลังจากห่างหายมานานก็ได้เวลาปั่นงานจ้า ฮาๆ.. (เรื่องจริงคือขำไม่ออกละ)

                ความจริงอัดอั้นมานานมากค่ะ คือมีหลายเรื่องมากๆเลยที่อยากเขียน แต่ไม่มีจังหวะจะเขียนเท่าไหร่เลย ถึงมีจังหวะก็คิดว่าไม่น่าจะทำได้ดี เลยขอเอาออกรวดเดียวตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปค่ะ 555 (อันนี้ขำจริงๆ)

                เอ่อ.. เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
                อรพิมเชื่อว่า เพื่อนๆที่เคยเรียนหรือกำลังญี่ปุ่นต้องมีบ้างที่จะสับสนว่า คำว่า せいさく นั้น แท้ที่จริงแล้วเขียนว่า 制作 หรือ 製作กันแน่ แล้วคันจิ  และ นี่มันทำให้ความหมายของคำแตกต่างกันอย่างไร อรพิมจะพาเพื่อนๆหาคำตอบกันค่ะ
                ก่อนอื่น อรพิมได้ไปขอความช่วยเหลือจากพจนานุกรมชื่อ 類語例解辞典 ค่ะ เขาก็ให้คำอธิบายมา มีทั้งความหมายและตัวอย่างการใช้ของทั้งสองคำ
                เริ่มที่ 制作 ก่อนนะคะ พี่ 類語例解 บอกว่า「制作は、映画やテレビなどの番組を作ることや、そういう仕事、役割をいう」นั่นก็คือ คำนี้ มีความหมายว่า "การผลิตหรืองานทีเกี่ยวกับศิลปะหรือสิ่งที่ต้องใช้เทคนิคอย่างหนัง หรือรายการทีวี" ค่ะ
                ส่วน 製作 นั่น พี่ 類語例解 บอกว่า「製作は、道具や機会などを用いて、物品を作ること」นั่นก็คือ คำนี้ มีความหมายว่า "การใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรผลิตสิ่งของ"
               
                ตอนนี้จะลองยกตัวอย่างการใช้ของทั้งสองคำนี้ให้ดูสักคำละประโยคค่ะ
                制作:テレビ局で教育番組の制作にたずさわる
            製作:模型飛行機を製作する

 *模型 = a model


                ถ้าจะให้เข้าใจง่ายขึ้น 制作 แปลว่า production; product; a work (of arts) ส่วน 製作 ก็จะแปลว่าmanufacture นั่นเอง

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

もしかして、私は晩婚…

                ความจริงแล้ว นอกเหนือจากจะมาเขียนโพสต์เปิดตัวคืออรพิมจะมาบอกว่า อรพิมเจอจุดเปลี่ยนอันใหญ่หลวงในชีวิตค่ะ อาจจะต้องเปลี่ยนเป้าหมายจากการเพิ่มพูนคำศัพท์ประเภท コロケーション เป็นการเพิ่มคำศัพท์ประเภท 漢語 แทนนะคะ อย่างไรก็ตามจะพยายามสละเวลาที่มีอยู่ค้นคว้าอย่างเต็มที่นะคะ

                ...และแล้วก็จะขอเริ่มที่โพสต์แรกค่ะ หลังจากร้างลาไม่ใส่ใจจะเริ่มเขียนเป็นเวลานาน

                เพื่อนๆ หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับตัว ในฐานะคำนามที่แปลว่า "ยามเย็น" หรือ "กลางคืน" มากที่สุดใช่ไหมเอ่ย
                แต่เรื่องมันไม่ได้มีแค่นั้นค่ะ เรื่องมันมีอยู่ว่า วันนึงอรพิมได้ไปเล่นซนอยู่ในเว็บไซต์เกี่ยวกับ "เห็ด" เนื่องจากเล่นเกมเก็บเห็ด なめこ栽培 แล้วสงสัยว่าไอ้เห็ดนาเมโกะเนี่ย รูปร่างหน้าตาจริงๆของมันเป็นอย่างไร แต่เอาเข้าจริงๆอรพิมก็ไม่ได้คำตอบของคำถามที่ว่านี่เท่าไหร่ แต่ไปเปิดเจอ 漢語 ที่สะดุดตาเข้าสองคำค่ะ นั่นก็คือคำว่า 晩秋(ばんしゅう)~ 早春(そうしゅん)(ความจริงแล้วมันคือช่วงที่จะเก็บเกี่ยวเห็ดเข็มทองหรือ エノキタケ ได้ตามธรรมชาติค่ะ) ดูจากคันจิแล้ว อรพิมก็เดาๆไปเรื่อยค่ะ ว่าสองคำนี้น่าจะมีความหมายว่า "ปลายฤดูใบไม้ร่วง" และ "ต้นฤดูใบไม้ผลิ" ตามลำดับ ซึ่งก็ถูกค่ะ แต่อรพิมไม่แน่ใจ เลยลองเปิดพจนานุกรมเพื่อความแน่ใจอีกที แต่อรพิมเปิดดูมันทุกฤดูคู่กับตัวเลยค่ะ ซึ่งได้ผลดังนี้
晩春(ばんしゅん)                หมายถึง 春の末 / late spring
晩夏(ばんか)                        หมายถึง 夏の末 / late summer
晩秋(ばんしゅう)                หมายถึง 秋の末 / late autumn
晩冬(ばんとう)                    หมายถึง 冬の末 / late winter
                จะเห็นได้ว่าในที่นี้ คันจิตัว นั้นถูกใช้ร่วมกับคันจิแสดง "ฤดู" เพื่อแสดงช่วงเวลาว่าเป็นช่วงปลายของฤดูนั้นๆ อรพิมจึงได้ค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากพจนานุกรมมาว่า คันจิตัว  นั้น มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง ผลก็คือ คันจิตัว นั้นมีความหายว่า ยามเย็น/ค่ำ บั้นปลาย พระอาทิตย์ตก ช่วงปลายของยุคสมัย สาย
                ฉะนั้น นอกจากนี้ ตัวยังใช้ร่วมกับคันจิอื่นๆอีกมากมายเพื่อแสดงความหมายในเชิงที่กล่าวมา อย่างเช่น
                晩年(ばんねん)ที่แปลว่า "บั้นปลายชีวิต"
                晩学(ばんがく)ที่ใช้เรียกการเริ่มเรียนหรือศึกษาบางอย่างตอนมีอายุแล้ว (อายุเป็นเพียงตัวเลข)
                晩婚(ばんこん)ที่ใช้เรียกการแต่งงานตอนมีอายุมาก (ไม่เอานะไม่ร้อง)
   อย่างไรก็ตามคำศัพท์เหล่านี้อาจใช้ไม่ได้ผลดีในทุกสถานการณ์ อาจะต้องอาศัยบริบทและการลาเทศะที่เหมาะสมด้วยนะคะ วันนี้ขอจบการรายงานแต่เพียงเท่านี้นะคะ เพิ่งเห็นว่าเข็มนาฬิกาชี้ขึ้นฟ้าทั้งสองเข็มแล้ว ได้เวลาบรรทม โอยาสึมินาไซ.
                
                ปล. ตัว 晩 นั้น ใช้กับคันจิแสดงฤดูได้ครบทั้งสี่ก็จริง แต่สำหรับตัว 早 นั้น เมื่อค้นในพจนานุกรมแล้วพบใช้กับเพียงสองฤดู คือ 早春(そうしゅん) และ 早秋(そうしゅう)เทานั้น นับว่าสนใจไม่น้อย ถ้ามีเวลาจะค้นคว้าเพิ่มเติมมาแชร์กันนะคะ