วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

มีはมั้ยは? หรือไม่มีは? หรือยังไงは?

       จะเกิดอะไรขึ้นถ้าในการแนะนำตัวครั้งแรกจะต้องพูดถึงงานวิจัย(研究)ของตัวเองให้คนอื่นฟัง?
       เราจะสามารถพูดเป็นภาษาญี่ปุ่นได้เกิน ๒ ประโยคหรือไม่ ?
       โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการอธิบาย 研究 ที่เป็นอุดมคติ !
       หลังจากเฟลกับการอธิบาย 研究 จบ ๒ ประโยคห้วนๆด้วยปากเปล่าแล้ว อรพิมก็ได้นำไปเนื้อหาที่ว่าไปขยายความและไปขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วม Lang-8 ชาวญี่ปุ่นให้ช่วยแก้กันค่ะ โดยต้นฉบับที่อรพิมโพสต์ไปหน้าตาเป็นอย่างนี้

       私は自然環境に興味があるので、環境問題について研究しています。
       実は、昔から自然のことに関心がなかったんですけど、高校の頃からバードウオッチングをしています。
       鳥の種類を一つずつ学んでいるうちに、自然のことも学んで興味が持ってきました。
       そのうちに、毎日鳥も自然も人間に被害されているのを知って、守りたい感じがしています。
       そのため、私は野鳥と自然のために、消滅した野鳥と都会においての環境問題の関係についての研究を行っています。

       พอโพสต์ปุ๊บก็มีเพื่อนๆมีน้ำใจมาแก้ให้ ๒ คนค่ะ ประโยคดูเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไร ส่วนในประโยคที่ ๒ นั้น ถูกแก้โดยเพื่อนทั้ง ๒ คน ดังนี้ค่ะ

       実は、昔から自然のことに関心がなかったんですけど、高校の頃からバードウオッチングをしています。↓

       ①実は、昔から自然のことに関心がなかったんですけど、高校の頃からバードウオッチングをしています。
       ②実は、昔自然のことに関心がなかったんですけど、高校の頃からバードウオッチングをしています。

       ในส่วนของ ① ที่โดนแก้ตรง 自然のことには関心がなかった สาเหตุน่าจะเป็นเพราะ เพื่อนสหาย Lang-8 คนนี้ ต้องการจะเน้นว่า "เรื่องอื่นเราอาจจะความสนใจนะ แต่เรื่องงธรมชาติเนี่ย ไม่สน"
       ส่วน ② ทีโดนแก้ตรง 昔は… น่าจะเป็นเพราะต้องการเน้นว่า "แต่ก่อนไม่สนใจนะ แต่ตอนนี้อะสนแล้ว"
       กล่าวคือ (เท่าที่เข้าใจ) คนญี่ปุ่นสองคนที่อ่านประโยคนี้ สาเหตุหนึ่งที่เลือกเติม は เพิ่มเข้าไปคนละที่ เข้าใจและมองว่าควรจะเน้นประเด็นใดประเด็นหนึ่งไม่เหมือนกัน คือมีมุมมองงานวิจัยมุ้งมิ้งของอรพิมที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง
       ที่น่าสังเกตคือ ประโยคที่อรพิมเขียนเป้นต้นฉบับ นอกจากตรง 実は แล้ว ก็ไม่มีคำช่วย は อีกให้เลย แต่คนญี่ปุ่นที่อ่านงานชิ้นนี้แล้ว น่าจะเกิดอิมเมจขึ้นบางอย่างให้หัวประมาณว่า "เอ นี่มันไม่น่าใช่แล้วนะ มันต้องมีประเด็นสิ" คือมันต้องชัดเจนกว่านี้ค่ะ ชัดเจนกว่าการมาเล่าเรื่องให้ฟังแบบน่าเบื่อล่องลอยว่า "แต่ก่อนไม่มีความสนใจเรื่องธรรมชาติ" (ลองอ่านออกเสียงแบบไม่มีเสียงวรรณยุกต์อะค่ะ ประมาณนั้น55) จึงเลือกที่จะเติม は เข้าไป เปลี่ยนจากต้นฉบับที่ は ล่องหน เป็นการสร้างประเด็นและดูมีจุดมุ่งหมายในการเขียนมากขึ้นค่ะ

ปล. ใน ② สหาย lang-8 ของเราอาจจะมองว่า ไม่ควรใช้คำว่า から เพราะเป็นการแสดงช่วงเวลาทีไม่ได้มีความสนใจมาเป็นระยะเวลานานเรื่อยมาจนปัจจุบัน ซึ่งอาจจะไม่ใช่ เพราะเราอาจจะค่อยๆสนใจมากขึ้นๆก็เป็นได้

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

恋愛って何なんだろう

     กลับมาแล้วๆ แหม่ๆ บอกไว้ว่าจะมาเขียนรวดเดียว แต่ก็มีปัญหาชีวิตเยอะเหลือเกินค่ะ
     ความจริงนอกจากเรื่องอ่านหนังสือสอบเหนี่ย ก็มีเรื่องความรักนี่แหละ ที่กำลังประสบปัญหาเน่าเฟะเละตุ้มเป๊ะ เวลามันแย่มากๆอรพิมจะเป็นคนชอบเขียนนู่นนี่นั่นเพื่อระบายความรู้สึกค่ะ แล้วมันก็เลยไปสะกิดต่อมสงสัยเกี่ยวกับคันจิสองตัวที่แปลว่า "ความรัก" นั่นก็คือ

และ

     อรพิมคิดว่าเพื่อนๆทุกคนที่เรียนญี่ปุ่น อย่างน้อยๆก็น่าจะรู้จักคำว่า 初恋 หรือไม่ก็ 愛している (แหม่ๆรู้นะ บางทีก็อยากจะบอกรักแฟนเป็นญี่ปุ่นบ้างอะไรบ้าง) หรือถ้าผ่านอะไรมาเยอะหน่อย ก็อาจจะมีโอกาสใช้คำว่า 失恋 ที่แปลว่าอกหัก (ไม่เอานะไม่ร้อง)
     และเรื่องที่จะเอามาเป็นประเด็นในวันนี้ก็คือ ความแตกต่างของคันจิตัว 恋 และตัว 愛 ค่ะ
     เคยสงสัยไหมว่า อย่างคำว่า 初恋 ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันจนชินเหนี่ย ทำไม่ต้องใช้คันจิ 恋 ทำไมไม่เขียนเป็น 初愛 หรืออย่าง 愛犬 ทำไม้ทำไมไม่เป็น 恋犬 ?
     งั้นอรพิมจะขอธิบายความแตกต่างของคันจิทั้งสองเลยนะคะ (ไปถามมาจากพจนานุกรม 類語 อีกทีค่ะ)

     คันจิ  นั้น จะหมายความถึงความรัก ที่เกิดขึ้นเฉพาะกับหนุ่มสาวเท่านั้น จึงมีภาพลักษณ์ของความโรมานส์ (ฉึกๆ) รวมอยู่ด้วย
     คันจิ  จะมีความหมายครอบคลุมความรัก ที่เกิดขึ้นกับทั้งหนุ่มสาว บุคคลอื่นๆ ป่ะป๊า ม่ะม้า หรือแม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น น้องหมาน้องแมว ได้หมดค่ะ
    ส่วนคำว่า ที่เกิดจากการนำคันจิทั้งสองมารวมกันนั้น จะมีความหมายเหมือน 恋 ค่ะ

    เพราะฉะนั้น ก็น่าจะพออธิบายได้ว่าบางคำทำไมต้องใช้ 恋 บางคำทำไมต้องใช้ 愛 มาถึงขั้นตอนนี้ แจงก่อนว่าเป็นการใช้พลังสมองของตัวเองล้วนๆ กรุณาใช้วิจารณญาณ จะลองยกตัวอย่างดูนะคะ

初恋
อย่างที่ได้เกริ่นไปเมื่อกี้นี้ค่ะ คำนี้ไม่สามารถใช้คันจิตัว 愛 ได้ เพราะบริบทที่เราใช้คำๆนี้เท่าที่ลองค้นดู จะหมายถึง "รักแรก" ที่เราเติบโตมาแล้วพบรักกับชายงามหญิงงามแล้วเป็นอันต้องหลงรักตราตรึงตะลึงพรึงเพริด เพราะฉะนั้น คำนี้จะไม่ใช้ตัว 愛 ค่ะ เพราะถ้าพูดถึง 愛 แล้ว น่าจะมีความหมายรวมไปถึงความรักที่มีต่อพ่อแม่หรือหมาแมวทีเราเคยเลี้ยงตอนสิบขวบ ซึ่งนั้นจะไม่มี "ความโรมานส์" อย่างที่ 恋 มีค่ะ

失恋
(คำนี้อ่านว่า しつれん นะคะ ไม่ใช่ しつこい เคยเจอคนเข้าใจผิดเยอะเบย) คำนี้ก็ประมาณเดียวกันค่ะ คือการที่เราถูกหักอกโดยใครบางคนนั้น คนๆนั้นคงไม่ใช่พ่อแม่ หรือหมาแมวเป็นแน่ค่ะ เพราะการถูกหักอกนั้น มันเกิดขึ้นเพราะหัวใจเจ้ากรรมไปมีความรักแบบ 恋 กับหนุ่มรูปงามข้างบ้านค่ะ ไม่ใช่แบบ 愛 ที่เรามีกับพ่อแม่หรือน้องแมว


     สุดท้ายอรพิมจะขอยกตัวอย่างคำที่ใช้คันจิ 愛 เพิ่มสักสองสามตัวนะคะ เพื่อที่จะได้เข้าใจทั่วกันเรื่องความหมายที่แตกต่าง เช่น

母性愛 ที่แปลว่าความรักของแม่ทีมีต่อลูก
愛犬 ที่แปลว่าสุนัขอันเป็นที่รัก
兄弟愛 ความรักระหว่างพี่น้อง ฯลฯ

     คำพวกนี่ จะไม่ใช้แทนที่ด้วยคันจิ 恋 ด้วยเหตุผลที่ว่า ความรักของแม่ ความรักระหว่างพี่น้อง และความรักที่มีีต่อน้องหมานั้น ไม่ใช้ความรักแบบ 恋 ที่มักเปี่ยมไปด้วยอารมณ์โรแมนติกนั่นเอง